ธนสรรไรซ์ อัดพันล้านเนรมิตท่าเรือ ยกระดับโลจิกส์ติก ตอกย้ำภาพลักษณ์รั้งเบอร์ 3 แชมป์ส่งออกข้าว

นายศุภชัย วรอภิญญาภรณ์ ประธานกรรมการ บริษัท ธนสรรไรซ์ จำกัด เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการก่อสร้างท่าเรือ Tanasan Marina ว่าขณะนี้โครงการดังกล่าวคืบหน้ากว่า 70 เปอร์เซ็นต์ ซึ่งคาดว่าจะเสร็จทันเดือนกันยายนนี้อย่างแน่นอน

“ท่าเรือแห่งนี้บริษัทได้ทุ่มงบประมาณกว่า 1,000 ล้านบาท ก่อสร้างขึ้นที่อำเภอสามโคก จังหวัดปทุมธานี บนเนื้อที่ 60 ไร่ เนื่องจากค่อนข้างที่จะใกล้กรุงเทพ สะดวกในการติดต่อรวมถึงการคมนาคมขนส่งก็สะดวกอีกด้วย”

บริษัท ธนสรรไรซ์ จำกัด เป็นผู้ดำเนินงานด้านธุรกิจโรงสีข้าว ส่งออกข้าวอันดับ 3 ในประเทศ รองจากเอเชียโกลเด้นไรซ์ และ นครหลวงค้าข้าว โดยส่วนใหญ่ข้าวที่ส่งออกจะเป็นข้าวเก่าประมาณ 40-50 เปอร์เซ็นต์ ข้าวนึ่ง 30-40 เปอร์เซ็นต์ ข้ามหอมมะลิคิดเป็น 10 เปอร์เซ็นต์ ตลาดหลักๆที่เป็นลูกค้าจะอยู่ทั่วประเทศแถบแอฟริกา ยุ โรป จีน สิงค์โปร์ ฮ่องกง เป็นต้น

ทั้งนี้หากแนวโน้มการส่งออกเป็นไปได้ด้วยดี จะส่งผลให้ความต้องการข้าวเพิ่มขึ้น ดังนั้นหากรัฐบาลทยอยนำข้าวสต๊อกออกมาประมูลเฉลี่ย 3-4 เดือนต่อครั้ง ปริมาณ 100,000-400,000 ตัน ก็จะช่วยให้วางแผนการทำตลาดของบริษัทได้ดีขึ้น

ประธานกรรมการ บริษัท ธนสรรไรซ์ จำกัด เปิดเผยเพิ่มเติมว่า ผลการเจริญเติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้ต้องใช้วัตถุดิบข้าวปริมาณมากขึ้น กลุ่มธนสรรไรซ์จึงได้เข้าร่วมการประมูลซื้อข้าวสารจากสต๊อกรัฐบาลอย่างต่อเนื่อง โดยในปีที่ผ่านมาสามารถประมูลข้าวได้ 400,000-500,000 ตัน

ล่าสุด ในการประมูลข้าวสารในสต๊อกรัฐบาล ครั้งที่ 1/2559 เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ปริมาณ 80,000 ตัน จากปริมาณที่เปิดประมูลทั่วไปทั้งหมด 3.6 แสนตัน โดยส่วนใหญ่เสนอซื้อข้าวเหนียว 10 เปอร์เซ็นต์ ปริมาณ 32,500 ตัน ราคาเฉลี่ยตันละ 14,000 บาท ส่วนที่เหลือเป็นปลายข้าวขาวเอวันเลิศ ข้าวท่อนหอมมะลิ ข้าวปทุม ส่วนข้าวขาว 5 เปอร์เซ็นต์ รัฐบาลไม่ได้นำมาประมูลในรอบนี้ ทั้งที่เป็นจังหวะที่ดี เพราะเป็นชนิดข้าวที่ตลาดมีความต้องการมากในขณะนี้ เพราะผลผลิตนาปรังปี 2559 ลดลง

นายศุภชัย ได้เปิดเผยถึงความสำเร็จในการก้าวขึ้นสู่ผู้ส่งออกข้าวอันดับ 3 ของประเทศ ว่า จากการดำเนินงานด้านโรงสีข้าวกว่า 20 ปี ได้ลงคลุกคลีเข้าถึงชาวนาในพื้นที่อยู่เป็นประจำ ทำให้ได้เปรียบบริษัทอื่นๆ สามารถซื้อข้าวจากชาวนาในราคาถูก สามารถขายต่อได้ในราคาที่ไม่สูงมากแต่มีกำไร ทำให้บริษัทมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด

พร้อมกันนี้ยังมีแผนขยายการส่งออกข้าวพรีเมี่ยม ซึ่งเป็นข้าวที่มีราคาสูง จึงเตรียมพัฒนาคลังสินค้าข้าวหอมมะลิคุณภาพพรีเมี่ยม โดยใช้งบประมาณ 500 ล้านบาท แบ่งเป็นคลังเก็บข้าวสารในพื้นที่โรงสี จังหวัดชัยนาท ปริมาณ 200,000 ตัน และไซโลเก็บข้าวในโรงสีที่ จังหวัดกาฬสินธุ์ อีก 50,000 ตัน และเตรียมพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตของเครื่องจักรในโรงงาน ทั้งนี้ตลาดข้าวหอมมะลิพรีเมี่ยมจะผลิตโดยอาศัยแบรนด์ จัสมิน ซึ่งเริ่มวางจำหน่ายในประเทศก่อน และจะขยายออกสู่ตลาดต่างประเทศ

“แนวโน้มการส่งออกข้าวปีนี้มองว่า ตลาดหลักในการส่งออกอย่างแอฟริกายังมีความต้องการข้าวปริมาณมาก แต่มองว่าจะมียอดส่งส่งไม่ต่ำกว่า 9 ล้านตัน และไม่น่าจะมากไปกว่านี้ ตลาดคู่แข่งสำคัญๆอย่างเช่น อินเดีย มีราคาขายถูกกว่าเราถึง 10 – 100 บาทต่อตันเป็นผลทำให้ตลาดของไทยดูซบเซาลงไป” นายศุภชัยกล่าว

นางดวงพร รอดพยาธิ์ อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า จากที่กระทรวงพาณิชย์ได้เปิดประมูลข้าวเป็นการทั่วไปปริมาณกว่า 2 แสนตันในข้าว 8 ชนิดที่มีคุณภาพตามมาตรฐานและใกล้เคียงมาตรฐานประกอบด้วย ข้าวปทุมธานี ข้าวเหนียวขาว 10 เปอร์เซ็นต์ ข้าวท่อนหอมมะลิ ข้าวท่อนปทุมธานี ปลายข้าวหอมมะลิ ปลายข้าวปทุมธานี ปลายข้าว A1 เลิศ และปลายข้าว A1 รวมจำนวน 40 คลัง ใน 13 จังหวัด ปรากฏว่ามีผู้มายื่นซองเสนอราคาซื้อข้าวสารในสต๊อกของรัฐบาลเป็นการทั่วไป จำนวน 25 ราย โดยมีผู้เสนอราคาที่เสนอราคาซื้อสูงสุด จำนวน 15 ราย ใน 35 คลัง ปริมาณรวม 1.52 แสนตัน หรือคิดเป็นสัดส่วน 74 เปอร์เซ็นต์ของปริมาณที่เปิดประมูล โดยมีมูลค่าที่เสนอซื้อประมาณ 1.78 พันล้านบาท

ทั้งนี้ข้าวเหนียวขาว 10 เปอร์เซ็นต์ มีผู้เสนอซื้อมากที่สุด ปริมาณ 8.32 หมื่นตัน คิดเป็น 55 เปอร์เซ็นต์ รองลงมาได้แก่ ปลายข้าว A1 เลิศ ปลายข้าวหอมมะลิ ข้าวท่อนหอมมะลิ ปลายข้าวปทุมธานี ข้าวปทุมธานี ข้าวท่อนปทุมธานี และปลายข้าว A1 โดยส่วนใหญ่จะเป็นโรงสีที่ชนะการประมูล เนื่องจากเป็นชนิดข้าวที่ตรงกับความต้องการ โดยบริษัท ธนสรรไรซ์ จำกัดประมูลได้ 8.26 หมื่นตัน มูลค่ากว่า 1.17 พันล้านบาท บริษัท โกลเด้นเกรน เอ็นเตอร์ไพรส์ฯ ประมูลได้ 2.0 หมื่นตัน มูลค่ากว่า 179 ล้านบาท และ