บริษัท บริการเชื้อเพลิงการบินกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) – BAFS บาฟส์ บริษัทให้บริการเติมน้ำมันอากาศยาน ณ ท่าอากาศยานสากลกรุงเทพ โดยดำเนินธุรกิจทางด้านการบริหารการจัดเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงอากาศยาน และให้บริการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงแก่อากาศยาน
หม่อมหลวงณัฐสิทธิ์ ดิศกุล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ เปิดเผยว่า กลุ่มบริษัทได้กําหนด 3 กลยุทธ์หลักเพื่อเป็นเป้าหมายในการดำเนินงาน คือ 1. กลยุทธ์เติบโตอย่างยั่งยืนโดยมีเป้าหมายสัดส่วนรายได้ในปี 2569 มาจากกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวกับอากาศยาน 50 เปอร์เซ็นต์ จากกลุ่มธุรกิจที่เกี่ยวเนื่องกับสาธารณูปโภคและพลังงาน 40 เปอร์เซ็นต์และอีก 10 เปอร์เซ็นต์ จากกลุ่มบริการธุรกิจ เพื่อลดการพึ่งพิงรายได้หลักจากธุรกิจบริการน้ำมันอากาศยาน ตลอดจนมุ่งสู่เป้าหมายการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ ภายในปี 2593
2.กลยุทธ์เปลี่ยนแปลงองค์กร เพื่อให้กลุ่มบริษัทมีโครงสร้างองค์กรที่ยืดหยุ่น คล่องตัว และมีความสามารถในการ แข่งขัน และ 3. กลยุทธ์บริหารทรัพยากรมนุษย์เพื่อมุ่งเน้น การพัฒนาศักยภาพของบุคลากรอย่างต่อเนื่อง
“อย่างไรก็ตามเชื่อมั่นว่า การดําเนินงานอย่างมุ่งมั่นของพนักงานท่ามกลางวิกฤติการขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนตามแผนกลยุทธ์ของกลุ่มบริษัทภายใต้หลักการบริหารจัดการที่ดี และการพัฒนาธุรกิจอย่างต่อเนื่อง จะทําให้กลุ่มบริษัทเติบโตได้อย่างยั่งยืนเพื่อเติมเต็มสังคม ประเทศ และโลกให้มีเพดานบินที่สูงขึ้นตามปณิธานของกลุ่มบริษัทต่อไป”
ทั้งนี้ ด้วยความเอาใจใส่อย่างเข้มงวดในทุกขั้นตอนจึงทำให้บริษัทสามารถกำหนดและควบคุมคุณภาพของน้ำมันทุกหยดที่ใช้เติมแก่อากาศยาน ใส บริสุทธิ์ ปราศจากสิ่งเจือปนตรงตามมาตรฐาน จนเป็นที่เชื่อถือและยอมรับโดยทั่วไปว่าน้ำมันทุกหยดที่เติมแก่อากาศยานนั้น เปี่ยมไปด้วยคุณภาพ ตลอดจนการบริการที่ดีได้มาตรฐาน ทั้งมีระบบและอุปกรณ์ที่ทันสมัยถูกต้อง รวดเร็ว และปลอดภัย จึงเป็นที่มาของการได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐาน ISO9001:2015 จากสถาบัน Bureau Veritas Certification ที่ทั่วโลกต่างยอมรับโดยทั่วกัน ด้วยความมุ่งมั่นที่จะให้การบริการเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงได้นำระบบ Aviation Refuelling Management System มาใช้เพื่อความถูกต้องแม่นยำและให้บริการอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด โดยระบบประกอบไปด้วย
ตั้งแต่ต้นปี 2566 จนถึงปัจจุบัน อุตสาหกรรมการบินฟื้นตัวได้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนจากปริมาณการเติมน้ำมันอากาศยานทั้งท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ และท่าอากาศยานดอนเมืองเฉลี่ยอยู่ที่วันละ 12-12.5 ล้านลิตร ซึ่งสูงกว่าประมาณการณ์เดิมที่ 11 – 11.6 ล้านลิตต่อวันขึ้นมาเล็กน้อย และเพิ่มขึ้นจาก ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2565 ที่มีปริมาณเติมเฉลี่ยราว 11 ล้านลิตรต่อวัน
“การฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินยังคงในทิศทางบวก แต่เนื่องจากเป้าทั้งปีที่ตั้งไว้ถือว่าสอดคล้องกับทิศทางการฟื้นตัวของอุตสาหกรรมการบินแล้ว แต่หาก CAATสามารถปรับเพิ่มสล๊อตการบินให้เอื้อกับสายการบินที่ยื่นความประสงค์บินเข้ามาในไทยเพิ่มขึ้น ก็จะเป็นอีกปัจจัยที่เข้ามาสนับสนุน โดยบริษัทมีความพร้อมในการให้บริการได้ในทันที เนื่องจากใช้การขนส่งน้ำมันทางท่อ สามารถเพิ่มปริมาณน้ำมันในคลังภายในท่าอากาศยานได้อย่างรวดเร็ว
สำหรับในปี 2566 นี้บริษัทไม่มีแผนการลงทุนโครงการขนาดใหญ่ จะมีเพียงการขยายท่อส่งน้ำมันไปทางตะวันออก และการลงทุนในกลุ่มธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงาน คาดว่าจะมีความชัดเจนภายในเดือนกุมภาพันธ์นี้ ซึ่ง ณ ปัจจุบันบริษัทมีรายได้จากธุรกิจสาธารณูปโภคและพลังงานเฉลี่ยราว 80-90 ล้านบาทต่อปี ถือเป็นรายได้ประจำที่ช่วยลดความผันผวนลงได้อย่างมีนัยสำคัญ