สยามโตโยต้าฯ คว้ารางวัลเกียรติยศสูงสุด “รางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน” 15 ปีซ้อน
บริษัท สยามโตโยต้าอุตสาหกรรม จำกัด (STM) ผู้ผลิตชิ้นส่วนเครื่องยนต์ให้กับบริษัทในกลุ่มโตโยต้าใช้ทั้งในประเทศและต่างประเทศเข้ารับรางวัลสถานประกอบกิจการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการแรงงาน ประจำปี 2563 15 ปีติดต่อกันระหว่างปี 2549-2563 ซึ่งเป็นรางวัลเกียรติยศสูงสุดในการประกาศรางวัลในครั้งนี้
สยามโตโยต้าถือเป็นผู้ผลิตเครื่องยนต์หลักสำหรับการประกอบรถยนต์ของโตโยต้าทุกรุ่นที่จำหน่ายในประเทศไทยรวมถึงการส่งออก ที่ผ่านมาเป็นการผลิตเครื่องยนต์ดีเซลเป็นส่วนใหญ่ เพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคในตลาดรถเพื่อการพาณิชย์
ปัจจุบันความต้องการของลูกค้าในตลาดรถยนต์นั่งในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีแนวโน้มสูงขึ้น ทำให้โตโยต้าเล็งเห็นถึงความสำคัญในการผลิตเครื่องยนต์เบนซินเพิ่มมากขึ้นจึงได้ทุ่มเงินลงทุนกว่า 6,000 ล้านบาท เพื่อขยายกำลังการผลิตเครื่องยนต์เบนซิน ZR สำหรับรถยนต์โตโยต้าโคโรลล่าอีกจำนวน 100,000 เครื่องต่อปี ส่งผลให้กำลังการผลิตของสยามโตโยต้าจะเพิ่มขึ้นเป็น 840,000 เครื่องต่อปี หรือประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ของการผลิตรวมของโตโยต้าทั่วโลก
นอกจากนี้บริษัทได้เพิ่มสายการผลิตของงานหล่ออลูมิเนียมซึ่งเป็นชิ้นส่วนที่สำคัญในการผลิตเครื่องยนต์รุ่นนี้อีกด้วยโดยการลงทุนในครั้งนี้จะช่วยเพิ่มศักยภาพของการผลิตรถยนต์ในประเทศและช่วยส่งเสริมการใช้ชิ้นส่วนภายในประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้นและยังส่งผลให้เกิดการจ้างงานใหม่เพิ่มขึ้นกว่า 200 อัตรา รวมถึงแผนการส่งออกเครื่องยนต์เบนซินZRไปยังกลุ่มโตโยต้าในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก เช่น ประเทศเวียดนาม ไต้หวัน เป็นต้น ซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าการส่งออกให้กับประเทศไทยไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านบาทต่อปี
สำหรับนโยบายความรับผิตชอบต่อสังคมและชุมชนรอบข้างบริษัท ได้ดำเนินควบคุ๋ไปในการทำกิจกรรมเพื่อชุมชน โดยยึดหลักตามมาตรฐานสากล (ISO 26000)ซึ่งครอบคลุมด้านเศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อมและสังคม และตั้งอยู่บนพื้นฐานของบรรษัทที่ดี
สมาคมชิ้นส่วนยานยนต์ไทยประเมินแนวโน้มอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ปี 2563 หดตัว เนื่องจากการผลิตรถยนต์ต่ำกว่าเป้าหมายที่ 1.9 ล้านคัน ส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อผู้ผลิตชิ้นส่วน OEM ขณะที่ผู้ผลิตชิ้นส่วน REM คาดว่าจะมียอดจำหน่ายเพิ่ม 10-20 เปอร์เซ็นต์ เพราะภาวะเศรษฐกิจหดตัว ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อรถยนต์ใหม่ และหันไปซื้อชิ้นส่วนรถยนต์มาเปลี่ยนแทน ขณะเดียวกันสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยเสนอให้รัฐบาลลดภาษีสรรพสามิตรถยนต์ลง 10 เปอร์เซ็นต์ เพื่อให้ราคาขายปลีกรถยนต์ต่ำลง ซึ่งจะช่วยกระตุ้นยอดจำหน่ายรถยนต์ในประเทศ รวมทั้งการลดภาษีนำเข้าชิ้นส่วนยานยนต์จากปัจจุบันที่เก็บอยู่ 10เปอร์เซ็นต์ เพื่อช่วยเหลือผู้ผลิตรถยนต์ในประเทศ
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ รองประธานและโฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยจำนวนการผลิต ยอดขายภายในประเทศ และการส่งออกรถยนต์และรถจักรยานยนต์ของประเทศ ในเดือนก.ค. 2563 โดยจำนวนรถยนต์ทั้งหมดที่ผลิตได้ ทั้งสิ้น 89,336 คัน ลดลง 47.71เปอร์เซ็นต์ เทียบกับเดือนเดียวกันปีก่อน จากการผลิตเพื่อส่งออกลดลง47.42 เปอร์เซ็นต์ และผลิตเพื่อจำหน่ายในประเทศลดลง 47.98 เปอร์เซ็นต์ แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนมิ.ย. ที่ผ่านมา24.59 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมยานยนต์ส่วนใหญ่กลับมาเปิดทำการ และโรงงานเริ่มเปิดสายการผลิตเพิ่มขึ้น
ส่วนจำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนม.ค.-ก.ค.2563 มีจำนวนทั้งสิ้น 695,468 คัน ลดลง 43.77เปอร์เซ็นต์ ด้านยอดขายรถยนต์ภายในประเทศ59,335 คัน ลดลง 24.8เปอร์เซ็นต์ แต่เพิ่มขึ้นจากเดือนมิ.ย.2.28เปอร์เซ็นต์ เพราะรัฐบาลผ่อนคลายล็อกดาวน์เพิ่มขึ้นรวมทั้งการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 และจากการจัดงานบางกอกอินเตอร์เนชั่นแนลมอเตอร์โชว์กลางเดือนก.ค.ที่ผ่านมา
ด้านการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป เดือนก.ค.จำนวน 49,564 คัน ลดลง 39.67 เปอร์เซ็นต์ โดยส่งออกลดลงทุกตลาด เนื่องจากยอดขายรถยนต์ในประเทศคู่ค้าลดลงจากการระบาดของโควิด-19 เช่น หกเดือนแรกปีนี้ยุโรปลดลง 39.5 เปอร์เซ็นต์ สหรัฐลดลง 23.8 เปอร์เซ็นต์ ญี่ปุ่นลดลง 20.1เปอร์เซ็นต์ บลาซิลลดลง 38.9เปอร์เซ็นต์