โยโกฮามา ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) เข้มการผลิตด้วยมาตรฐานสากล ชูสนามทดสอบสมรรถนะยาง เพื่อยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์
บริษัท โยโกฮามา ไทร์ แมนูแฟคเจอริ่ง (ประเทศไทย) จำกัด เครือบริษัท โยโกฮามา รับเบอร์ จำกัด ประเทศญี่ปุ่น เข้ามาตั้งฐานผลิตในประเทศไทย เมื่อปี 2547 เพื่อผลิตยางเรเดียลใช้สำหรับรถบรรทุก,รถบัส,รถกระบะ ที่ผ่านการรับรองมาตรฐานสากล เช่น ISO 9001,ISO/TS 16949 และระบบการจัดการสิ่งแวดล้อม ISO 14001 : 2015
การดำเนินงานที่ผ่านมาโยโกฮามาได้เปิดตัวผลิตภัณฑ์อย่างต่อเนื่อง รวมถึงการเฟ้นหาและการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพ ซึ่งกระบวนการผลิตโยโกฮามาให้ความสำคัญกับความปลอดภัย และสภาพแวดล้อมภายในและภายนอกบริษัทเป็นอย่างมาก เพื่อส่งมอบผลิตภัณฑ์ที่ดีที่สุดในราคาที่เหมาะสมและทันเวลา นั่นเป็นสิ่งที่โยโกฮามายึดถือในการปฎิบัติงานซึ่งจะช่วยเพิ่มมูลค่าทางธุรกิจ ซึ่งจะนำพาโยโกฮามาไปสู่ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่
ในช่วงปีที่ผ่านมา ยอดขายในเมืองโยโกฮามาลดลงในธุรกิจอุปกรณ์เดิมในญี่ปุ่นและต่างประเทศซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงผลิตภัณฑ์สำหรับรถหลายรุ่นที่ติดตั้งยางโยโกฮามาและการชะลอตัวของการผลิตรถยนต์
อย่างไรก็ตาม โยโกฮาม่าประสบความสำเร็จในการเติบโตของยอดขายในตลาดทดแทนของญี่ปุ่นผ่านการส่งเสริมการขายยางพรีเมียมภายใต้แบรนด์เรือธงระดับโลก ADVAN; ยางประหยัดเชื้อเพลิงของ BluEarth series; และผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มอื่นๆ ธุรกิจยางทดแทนนอกประเทศญี่ปุ่นได้รับผลกระทบจากสภาพอากาศที่ไม่เอื้ออำนวยความไม่แน่นอนของสกุลเงินในประเทศเศรษฐกิจเกิดใหม่และผลกระทบด้านลบต่อความต้องการของความวิตกเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการค้าของสหรัฐฯกับจีน
ขณะที่ประเทศไทยนอกจากจะเป็นฐานการผลิตแล้วยังมีศูนย์ทดสอบยางแห่งเอเชียหรือ Yokohama Tire Test Center of Asia ตั้งอยู่ใกล้นิคมอุตสาหกรรมอีสเทิร์นซีบอร์ด จังหวัดระยอง ซึ่งมีพื้นที่ 1.69 ล้านตารางเมตร หรือ 1,056 ไร่ เป็นสนามทดสอบยางที่ทันสมัยของโยโกฮามา สร้างขึ้นเพื่อใช้วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์
สนามแห่งนี้นับเป็นแห่งที่สองของกลุ่มบริษัทโยโกฮามา รับเบอร์ นอกเหนือจากสนามทดสอบในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งจะช่วยยกระดับการพัฒนาผลิตภัณฑ์ Yokohama ทั้งในแง่คุณภาพและปริมาณ โดยประกอบด้วยอาคารสำนักงาน โรงรถ ที่เก็บยาง ทางวิ่งความเร็วสูง ความยาว 4.1 กิโลเมตร,ช่วงทางตรงที่ความยาวสุด 1 กิโลเมตร สามารถทดสอบการวิ่งที่ใช้ความเร็ว 200 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
นอกจากนี้ยังมีทางวิ่งอเนกประสงค์พื้นที่ 100,000 ตารางเมตร หรือ 62.5 ไร่ ซึ่งขยายเพิ่มเติมในช่วงเวลาต่อมา ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกัน ประกอบด้วยพื้นที่ทดสอบพื้นเปียก,พื้นที่พิเศษที่จำลองสภาพผิวถนนต่างๆ ที่มีอยู่ในโลก ใช้ประเมินความนุ่มนวลและเสียงรบกวนขณะขับขี่ และมีพื้นผิวถนนทั่วไปที่มีความยาว 4.2 กิโลเมตร ซึ่งสร้างอยู่รอบๆ ทางวิ่งความเร็วสูง
ด้านนายณัฐพล รังสิตพล ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม(สศอ.)เปิดเผยถึงความคืบหน้าการผลักดันการผลิตรถยนต์อีโคอีวีในประเทศไทย ว่า ขณะนี้สถาบันได้เสนอเรื่องให้รมว.อุตสาหกรรมพิจารณาถึงความคืบหน้าเรื่องดังกล่าวที่สศอ.ร่วมดำเนินการกับกรมสรรพสามิต เรื่องมาตรการภาษี และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน(บีโอไอ)ที่ส่งเสริมให้รถยนต์ประหยัดพลังงานมาตรฐานสากล(อีโคคาร์)สามารถผลิตเป็นรถยนต์ไฟฟ้า(อีวี)ได้ภายใต้ชื่อ อีโคอีวี
พร้อมยืนยันว่าจะผลักดันให้การผลิตอีวีในไทยเกิดขึ้นได้เร็วตามยุทธศาสตร์รถยนต์แห่งอนาคตของรัฐบาล โดยใช้วิธีการขยายฐานการผลิตจากอีโคคาร์และช่วยให้ผู้ผลิตชิ้นส่วนของไทยได้ประโยชน์ทางตรงด้วย ล่าสุดได้หารือร่วมกับกรมสรรพสามิต บีโอไอและผู้ผลิตรถยนต์ทุกรายในไทยแล้วคาดว่าจะมีความชัดเจนภายในปีนี้
“เมื่อได้ข้อสรุปสุดท้ายแล้ว ทั้ง 3 หน่วยงานจะออกประกาศเพิ่มเติมเพื่อให้อีโคคาร์มุ่งสู่อีวีได้ อาทิ การกำหนดประเภทชิ้นส่วนที่มุ่งสู่อีวี กำหนดช่วงเวลาผลิต จำนวนรถยนต์อีโคอีวีที่ต้องผลิต วงเงินลงทุน คล้ายการผลิตอีโคคาร์ในอดีตที่จะกำหนดระยะเวลา จำนวนรถยนต์ เพื่อให้ผู้ผลิตสามารถเตรียมแผนการผลิตได้ คาดว่าจะเริ่มเห็นการลงทุน ปี 2562″นายณัฐพล กล่าว
สำหรับสาเหตุที่เร่งผลักดัน อีโคอีวี เพราะจากสนับสนุนรถยนต์อีวีในช่วงที่ผ่านมาพบว่า หลักการในการสนับสนุนของแต่ละหน่วยงานพบว่ายังมีข้อที่ไม่สอดรับกับการผลิตจริง ทำให้ปัจจุบันผู้ผลิตยังเน้นผลิตรถยนต์ไฮบริดและปลั๊กอินไฮบริดยังไม่มุ่งสู่อีวีมากนัก
อย่างไรก็ตามในช่วงที่ผ่านมาหลังคณะรัฐมนตรีมีมติยุทธศาสตร์ยานยนต์แห่งอนาคตที่มุ่งสู่อีวีนั้น พบว่า มีผู้ผลิตรถยนต์ยื่นขอส่งเสริมการลงทุนกับบีโอไอจำนวน 8 ราย มูลค่าลงทุน 37,858.42 ล้านบาท กำลังการผลิต 404,700 คัน อาทิ โตโยต้า 16,608 ล้านบาท กำลังการผลิต 70,000 ล้านบาท เมอร์เซเดส เบนซ์ 268 ล้านบาท กำลังการผลิต 8,700 ล้านบาท ฮอนด้า 4,221 ล้านบาท กำลังการผลิต 45,000 คัน