ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ จงวนิชย์ อาจารย์คณะเศรษฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวในงานสัมมนาวิชาการประจำปี 2561 Re-design Thailand ทำอย่างไรให้เศรษฐกิจไทยเติบโตอย่างยั่งยืน ว่า โครงสร้างการส่งออกของไทยปัจจุบันยังเป็นกลไกสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ เพราะประเทศไทยยังต้องพึ่งพาการส่งออกในอัตราที่สูงกว่าร้อยละ 70 เปอร์เซ็นต์ของมวลรวมทั้งประเทศ ซึ่งมีการตลาดภายในที่ค่อนข้างจำกัดเเละยังเป็นฐานการผลิตของบริษัทข้ามชาติเพื่อการส่งออกเป็นระยะเวลายาวนานดังนั้นการส่งออกยังเป็นปัจจัยสำคัญในการขับเคลื่อนประเทศ
“สิ่งเเรกต้องหันหลับมามองโครงสร้างการส่งออกของประเทศ 2 ส่วนหลัก คือ การกระจุก กระจายตัวของสินค้าการส่งออกอยู่ที่ไหนเเละดูในเรื่องของพลวัตรการส่งออก ไม่ว่าจะเป็นการส่งออกสินค้าเดิมไปยังตลาดเดิม หรือการส่งสินค้าใหม่ ไปยังตลาดใหม่ รวมถึงการเจาะตลาดใหม่อีกด้วย”
อย่างไรก็ตามการส่งออกของไทยกระจุกตัวอยู่ในสินค้า 3 กลุ่มคือ กลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เเละเครื่องจักรกล ที่มีสัดส่วนการส่งออกกว่า 38 เปอร์เซ็นต์ ของการส่งออกทั้งหมด ต่อมาคือกลุ่มยางเเละพลาสติก มีสัดส่วนการส่งออกอยู่ที่ 10 เปอร์เซ็นต์จากการส่งออกทั้งหมดเเละสุดท้ายคือกลุ่มยานยนต์เเละชิ้นส่วน มีสัดส่วนส่งออกอยู่เพิ่มขึ้นจาก 4 เปอร์เซ็นต์ ในปี 2002 มาเป็น 11 เปอร์เซ็นต์ในปี 2016
ผศ.ดร.จุฑาทิพย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การส่งออกเกิดมาจาก 4 ส่วนหลักคือ (1) การส่งสินค้าเดิมไปยังตลาดเดิม Intensive Margin (2) การผลิตสินค้าใหม่ Extensive Products (3) ส่งออกสินค้าเดิมไปตลาดใหม่ Extensive Market (4) ออกจากตลาด Death
หากลองเปรียบเทียบ Margin กับการส่งออกสินค้าของประเทศไทย เห็นเเนวโน้มการส่งสินค้าเดิมไปยังตลาดเดิมมากขึ้น เเต่ในการเจาะตลาดใหม่มีเเนวโน้มลดลง เช่นในจีน เจาะตลาดเดิมค่อนข่างมาก พอลองเอา margin เทียบกับตลาดเดิม 3 ปี ช่วงเวลาปี 2002-2016 พบว่า จีน เกาหลีใต้ เเละเวียดนาม สามารถเพิ่มตลาดได้ดีในเวลาดังกล่าว
ขณะเดียวกันไทยยังทรงตัว ซึ่งตัวที่ฉุด คือ อุตสาหกรรมอาหาร เช่นอาหารเเช่เเข็ง อิเล็กทรอนิกส์ เคมีภัณฑ์ อุตสาหกรรมยานยนต์ เเละเมื่อเอา Margin ไปเปรียบเทียบกับตลาดโลก พบว่า ประเทศไทยมีความสามารถในการส่งสินค้าใหม่ในตลาดโลกลดลง เเต่จีน เกาหลีใต้ กลับเพิ่มขึ้น การลดลงมาจากความสามารถในการผลิตสินค้าใหม่ ส่งออกสินค้าใหม่ไปยังตลาดโลกลดลง เเต่ยังมีอุตสาหกรรมที่เพิ่มการส่งออกไปยังตลาดโลก คือกลุ่มของเคมีภัณฑ์
“ความสามารถในการเจาะตลาดใหม่ของเราเมื่อเทียบในตลาดโลก มันลดลงในทุกอุตสาหกรรม เวลาเปิดตลาดใหม่ ส่งสินค้าใหม่ประเทศไทยอยู่รอดเเค่ 22 เปอร์เซ็นต์ เเต่เราเจอว่าอุตสหกรรมที่ผลิตสินค้าเดิมส่งออกไปตลาดเดิมมันดีขึ้น ทำให้การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจดีขึ้น สรุปโครงสร้างคือ การส่งออกสินค้าในตลาดเดิมมันทรงตัว เเต่การส่งออกสินค้าในตลาดโลกลดลง การส่งออกสินค้าใหม่ดีบางตัว ทำให้การกระจายตัวของตลาดมีเเนวโน้มทรงตัว”