ไอซิน ทาคาโอก้า ฟาวน์ดริ บางปะกง เดินแผนขยายกำลังการผลิตต่อเนื่อง พร้อมประกาศความสำเร็จรับรางวัลดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศ ประจำปี 2566 ด้าน Krungthai COMPASS คาดการส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยมีแนวโน้มเติบโตในตลาดการค้าสากล
บริษัท ไอซิน ทาคาโอก้า ฟาวน์ดริ บางปะกง จำกัด เป็นบริษัทร่วมทุนระหว่าง บริษัท ไอซิน ทาคาโอกะ จำกัด ในกลุ่มบริษัท โตโยต้า คอร์ปอเรชั่น (ญี่ปุ่น) และบริษัท ซิเมนต์ไทย โฮลดิ้ง จำกัด ในเครือซิเมนต์ไทย ประกอบกิจการผลิตชิ้นส่วนรถยนต์จากเหล็กหล่อ สำหรับค่ายรถยนต์รายใหญ่ของประเทศ อาทิเช่น TOYOTA ,ISUZU,HONDA,FORD และ MAZDA เป็นต้น
บริษัท ไอซิน ทาคาโอก้า ฟาวน์ดริ บางปะกง จำกัด เป็นหนึ่งในกลุ่มบริษัท ไอซิน ทาคาโอกะ ประเทศไทย ซึ่งมีอยู่ทั้งหมด 6 บริษัท ได้แก่ บริษัท นวโลหะไทย จำกัด บริษัท นวโลหะอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ผลิตภัณฑ์วิศวไทย จำกัด บริษัท สยามเอทีอุตสาหกรรม จำกัด บริษัท ไอซิน ทาคาโอก้า ฟาวน์ดริ บางปะกง จำกัด และบริษัท ไอซิน ทาคาโอกะ (ประเทศไทย) จำกัด ปัจจุบันบริษัท ไอซิน ทาคาโอก้า ฟาวน์ดริ บางปะกง จำกัด ได้ขยายกำลังการผลิตอย่างต่อเนื่อง และมีความมุ่งมั่นพัฒนาคุณภาพการผลิตด้วยเครื่องจักรอันทันสมัย บุคลากรระดับมืออาชีพและระบบการบริหารจัดการอย่างเป็นมาตรฐานสากล
ล่าสุดบริษัทฯ ประกาศความสำเร็จรับรางวัลดีเด่นด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานระดับประเทศ เป็นปีที่ 14 ประจำปี 2566 จากกรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน กระทรวงแรงงาน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้สถานประกอบการต่างๆ หันมาให้ความสำคัญกับงานด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเพิ่มมากขึ้น และสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง มีมาตรฐานที่ดีและสร้างความมั่นใจในการปฏิบัติงาน ซึ่งจะช่วยลดปัญหาจากการประสบอันตรายและการเกิดโรคจากการทำงาน รวมทั้งส่งเสริมให้สถานประกอบการต่างๆ มีมาตรฐานด้านความปลอดภัยและอาชีวอนามัย ซึ่งจะเป็นที่ยอมรับในระดับสากล
สำหรับผลดีของการให้ความสำคัญด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานขององค์กรคือ ช่วยป้องกันควบคุมให้เกิดสภาพความปลอดภัยในการทำงาน ช่วยลดความสูญเสียที่บันทอนกิจการองค์กรอันเนื่องมาจากการเกิดอุบัติเหตุ ช่วยลดผลกระทบทางสังคมที่อาจตามมาหลังการประสบอันตรายจากการทำงาน ส่งผลต่อการเพิ่มผลผลิต เช่นสภาพแวดล้อมมีอิทธิพลต่อการทำงานของพนักงาน ช่วยให้ผู้ปฎิบัติงานให้ได้รับการปฎิบัติที่เป็นธรรม ไม่ขัดต่อหลักมนุษยธรรม และยังช่วยเสริมภาพลักษณ์ให้กับองค์กรและผลิตภัณฑ์ เป็นสำคัญ
ทิศทางอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ปี 66–67
สำหรับในปี 2566-2567 Krungthai COMPASS คาดว่า การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ของไทยมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่อง 2.8%YoY และ 3.7%YoY ตามลำดับโดยมีปัจจัยสนับสนุนหลักจาก 1) ปริมาณการผลิตรถยนต์ในตลาดโลก ที่เราคาดว่าในปี 2566–2567 มีแนวโน้มเติบโตที่ระดับ 4.0%YoY และ 5.3%YoY ตามลำดับ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลล่าสุดของ S&P Global Mobility ที่ได้ ประมาณการยอดการผลิตรถยนต์ทั่วโลกมีแนวโน้มขยายตัวต่อเนื่องที่ 4.0% ในปี 2566 และ 2) การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ยังมีRoom to Grow อีกมาก ข้อมูลจาก International Trade Centre พบว่า การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ ของไทยมี Market Share เพียง 2.2% เมื่อเทียบกับมูลค่าการส่งออกชิ้นส่วน ยานยนต์รวมทั่วโลก ถือเป็นโอกาสที่ดีของไทยในการเพิ่มสัดส่วนการส่งออก ชิ้นส่วนยานยนต์ไปยังตลาดโลก
นอกจากนี้การส่งออกชิ้นส่วนยานยนต์ยังได้รับปัจจัยบวกจาก 1) มาตรการ สนับสนุนการค้าเสรี (Free trade) ล่าสุดไทยได้ให้สัตยาบันความตกลงหุ้นส่วน ทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ซึ่งเริ่มบังคับใช้เมื่อต้นปี2565 ที่ผ่านมานับเป็นความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่ใหญ่ที่สุดในโลก โดยมีสมาชิก 15 ประเทศ ได้แก่ อาเซียน 10 ประเทศ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ จีน ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์ ทำให้ประเทศคู่ค้าที่ เป็นสมาชิก RCEP ยกเลิกภาษีนำเข้าที่เก็บกับสินค้าไทย โดยลดภาษีเหลือ 0% ทันที10 และ 2) มาตรการส่งเสริมการลงทุนของ BOI11 อาทิ ยกเว้นภาษีเงินได้ นิติบุคคล (3-8 ปี แล้วแต่กรณี) ยกเว้นอากรนำเข้าเครื่องจักร ยกเว้นอากรสินค้า นำเข้าเพื่อวิจัย ยกเว้นอากรวัตถุดิบผลิตเพื่อส่งออก ซึ่งจะช่วยดึงดูดนักลงทุน และช่วยเพิ่มศักยภาพในการส่งออกได้มากขึ้น โดยในปี2565 อุตสาหกรรมยานยนต์และชิ้นส่วนฯ ได้รับการส่งเสริม การลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริม การลงทุน (BOI) มูลค่ากว่า 7.1 หมื่นล้านบาท