ธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.) เข้ารับรางวัล Digital Government Award ประจำปี 2018 จาก ASOCIO ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น จากการเป็นผู้ริเริ่มโครงการ DLT Scripless Bond ซึ่งเป็นการนำนวัตกรรมและเทคโนโลยีบล็อกเชนมาใช้ในงานจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์ ซึ่งจะช่วยลดระยะเวลาส่งมอบพันธบัตรจากเดิม 15 วัน เหลือเพียง 2 วัน
โครงการดังกล่าวเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพและลดต้นทุนโดยรวมของประเทศรวมทั้งผลักดันให้เกิด Thailand Blockchain Community Initiative ซึ่งเป็นเครือข่ายบล็อกเชนทางภาค
ล่าสุดธนาคารแห่งประเทศไทยเปิดเผยผ่านเอกสารเผยแพร่ว่า โครงการ DLT Scripless Bond ขณะนี้ได้รับความร่วมมือจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ บริษัท ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ (ประเทศไทย) จำกัด สมาคมตลาดตราสารหนี้ไทย และธนาคารตัวแทนจำหน่ายทั้ง 4 แห่ง ประกอบด้วย ธนาคารกรุงเทพธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย และธนาคารไทยพาณิชย์ ได้ทดลองนำร่องการใช้เทคโนโลยีบล็อกเชน กระบวนการทำงานแบบ Design Thinking และ Agile Developmentมาใช้ปรับกระบวนงานสร้างมาตรฐาน ลดขั้นตอน ลดระยะเวลา และลดต้นทุนการดำเนินงานของทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในการจำหน่ายพันธบัตรออมทรัพย์รัฐบาลซึ่งนับเป็นการนำเทคโนโลยี Distributed LedgerTechnology หรือ บล็อกเชนมาใช้ในงานจำหน่ายพันธบัตรเป็นรายแรกของโลก
อย่างไรก็ตาม จากการทำ Proof of Concept พบว่าโครงการ DLT Scripless Bond สามารถพัฒนาระบบต้นแบบได้สำเร็จเป็นอย่างดีตอบโจทย์ความต้องการทางธุรกิจในทุกขั้นตอนหลักและก่อให้เกิดประโยชน์แก่ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. ประชาชนสามารถได้รับพันธบัตรภายใน2 วันจากเดิม 15 วัน และยังสามารถซื้อพันธบัตรได้เต็มสิทธิที่ธนาคารเดียวโดยไม่มีโควตารายธนาคารเช่นในปัจจุบัน
2. ธนาคารตัวแทนจำหน่าย ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์ฯ และธนาคารแห่งประเทศไทย สามารถลดความซับซ้อนและขั้นตอนการ
ทำงาน
3. ผู้ออกพันธบัตรสามารถติดตามดูแลการจำหน่ายพันธบัตรได้แบบเรียลไทม์ช่วยให้บริหารจัดการวงเงินได้เร็วขึ้น และส่งเสริมการแข่งขันของธนาคารตัวแทนจำหน่ายได้ดียิ่งขึ้นโดย
อย่างไรก็ตามในภาพรวมโครงการ DLTScripless Bond ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ ความโปร่งใส ความปลอดภัย และลดต้นทุนการดำเนินงานโดยรวมของทั้งระบบ(สามารถ Download สรุปผล POC ของโครงการ DLT Scripless Bond ได้ที่ URL
สำหรับระยะถัดไปโครงการ DLT Scripless Bond จะขยายผลการพัฒนาระบบสู่การใช้งานจริง โดยในระยะแรกจะครอบคลุมพันธบัตรออมทรัพย์ซึ่งคาดว่าจะสามารถเปิดให้บริการได้ในช่วงปลายปี 2562และจะขยายผลให้รองรับพันธบัตรทุกประเภท เพื่อยกระดับเป็นโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้ของประเทศต่อไป
ธนาคารแห่งประเทศไทยเป็นธนาคารกลางของประเทศไทย จัดตั้งขึ้นโดยพระราชบัญญัติธนาคารแห่งประเทศไทยปี 2485 เปิดดำเนินการครั้งแรกเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม ปี2485 ธนาคารแห่งประเทศไทย มีหน้าที่หลักในการดูแลกำกับเรื่องการเงินของชาติ รวมถึงออกกฎเกณฑ์และควบคุมสถาบันการเงินนำออกหมุนเวียนซึ่งธนบัตรไทยรวมถึงการควบคุมการถ่ายโอนเงินตราระหว่างประเทศ และเฝ้าระวังอัตราแลกเปลี่ยนเงินบาทเทียบกับสกุลเงินตราอื่น