บริษัท มูซาชิ ออโตพาร์ท จำกัด ผู้ผลิตและจำหน่ายชิ้นส่วนยานยนต์ อะไหล่ เครื่องจักร มากว่า 37 ปี มีโรงงาน 2 แห่งตั้งอยู่ที่จังหวัดปทุมธานีและปราจีนบุรี ปัจจุบันผลิตจำหน่ายให้กับลูกค้าในประเทศ 90 เปอร์เซ็นต์และอีก 10 เปอร์เซ็นต์ ส่งลูกค้าต่างประเทศ ในกลุ่มผู้ผลิตรถยนต์รายใหญ่ ได้แก่ ฮอนด้าและซูซูกิ
บริษัทฯให้ความสำคัญในทุกขั้นตอนการผลิต เพื่อให้ได้ตรงตามมาตรฐานสากล ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้าด้วยการนำระบบการจัดการด้านคุณภาพสำหรับอุตสาหกรรมยานยนต์ ISO 9001 และ TS 16949 มาใช้ในการผลิต
นอกจากนี้บริษัทฯยังได้รับการรับรองด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัย OHSAS 18001และ ISO 14001 (Environmental management System) เป็นมาตรฐานสากลที่มีความสำคัญต่อการพัฒนาองค์กรให้ก้าวหน้าและเป็นที่ยอมรับทั้งในเชิงพาณิชย์และสังคม เนื่องจากการดำเนินการของระบบช่วยให้องค์กรสามารถวางนโยบายและวัตถุประสงค์ ข้อกำหนด กฎระเบียบต่างๆ ด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงองค์กรสามารถควบคุมและแก้ไขปัญหา ที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมตลอดจนกระบวนการทำงานอื่นๆ
อย่างไรก็ตาม บริษัทมีนโยบายหลักที่กำหนดไว้โดยคิดค้นการผลิตงานอย่างสร้างสรรค์ สร้างเสริมความไว้วางใจจากคนทั่วโลก ด้วยเครื่องจักรที่ทันสมัย และยึดลูกค้าเป็นหลัก ซื่อสัตย์ สุจริต ค้นหาสิ่งใหม่ๆอยู่เสมอ สิ่งเหล่านี้กำหนดขึ้นเพื่อให้โรงงานในเครือที่อยู่ในความดูแลของบริษัทฯยึดปฎิบัติเป็นแนวทางเดียวกันอย่างเคร่งครัด
สำหรับมูซาชิกรุ๊ป มีการพัฒนาจนกลายเป็นบริษัทฯระดับโลกแล้วแต่ก็ยังไม่หยุดการปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงต่างๆนับตั้งแต่ก่อตั้งขึ้นเพื่อความอยู่รอดในตลาดโลก และทำให้เห็นว่าเป็นเอกลักษณ์ของมูซาชิกรุ๊ป ภายใต้คำขวัญที่ว่า มูซาชิแบรนด์ระดับโลก สิ่งที่บริษัทฯตระหนักอยู่เสมอคือทุกชิ้นส่วนที่ผลิตออกไปจะต้องสามารถตอบสนองการใช้งานได้มากที่สุด ซึ่งไม่มีสิ่งใดนอกจากการส่งและแปลงพลังงานประเภทต่างๆให้เกิดประโยชน์สูงสุด เช่นการเลือกใช้ทรัพยากรและพลังงานเพื่อสร้างคุณค่าที่เป็นประโยชน์ต่อสังคม การสร้างความแตกต่างระหว่างตัวเรากับคนอื่นๆอย่างต่อเนื่อง จากนั้นจึงผนวกรวมความแตกต่างเหล่านั้นเข้ากับการเติบโตของบริษัทฯและมุ่งมั่นที่ให้พนักงานเติบโตไปพร้อมๆกับบริษัทเช่นกัน
ทั้งนี้จุดเริ่มต้นของกลุ่มมูซาชิ ดำเนินธุรกิจโดยการผลิตชิ้นส่วนคาร์บูเรเตอร์สำหรับเครื่องบินในปี 2526 และเปลี่ยนไปผลิตชิ้นส่วนเครื่องหว่านหลังจากสงครามโลกครั้งที่สองในปี 2499 เริ่มผลิตชิ้นส่วนรถจักรยานยนต์และย้ายไปอยู่ในอุตสาหกรรมรถยนต์บริษัทฯได้สร้างระบบ Monozukuri แบบเดิมขึ้นด้วยระบบการผลิตแบบครบวงจรเทคโนโลยีการผลิตด้วยความแม่นยำและระบบการผลิต การขายทั่วโลกรวมทั้งความสามารถในการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ทำให้ปัจจุบันบริษัทฯได้รับการตอบรับจากลูกค้ากลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์มาอย่างต่อเนื่อง
อุตฯยานยนต์ไทยปี 67 “รุ่ง” หรือ “ร่วง”
นายสุรพงษ์ ไพสิฐพัฒนพงษ์ โฆษกกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) เปิดเผยว่า สถานการณ์ใน 5 เดือนแรกยังคงชะลอตัว ตัวเลขการผลิตรถยนต์ การขายรถใหม่ และยอดส่งออกของไทย ตั้งแต่เดือนมกราคม -พฤษภาคม 2567 จำนวนรถยนต์ที่ผลิตได้ในเดือนมกราคม – พฤษภาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 644,951 คันลดลง 16.88 เปอร์เซ็นต์ เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่ผ่านมา ขณะที่ตัวเลขการผลิตในเดือนพฤษภาคม 2567 มีทั้งสิ้น 126,161 คัน ลดลง 16.19 เปอร์เซ็นต์
ปัจจัยที่ลดลง เป็นผลมาจากการผลิตรถกระบะขายในประเทศ ที่ลดลง 54.66 เปอร์เซ็นต์ และการผลิตรถยนต์นั่งขายในประเทศลดลง 14.35 เปอร์เซ็นต์ เนื่องจากเศรษฐกิจในประเทศที่เติบโตในอัตราต่ำและการผลิตรถยนต์ไฟฟ้ายังไม่พร้อม สำหรับยอดขายจำนวน 260,365 คัน ลดลง 23.80 เปอร์เซ็นต์
ขณะที่ยอดขายรถยนต์ในประเทศเดือนพฤษภาคม 2567 มีจำนวนทั้งสิ้น 49,871 คัน ลดลง 23.38 เปอร์เซ็นต์ ปัจจัยหลักที่ทำให้ยอดขายรถในประเทศหดตัวลงนั้น เป็นเพราะสถาบันการเงินเข้มงวดในการอนุมัติสินเชื่อ เนื่องจากหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูง ด้านการส่งออกรถยนต์สำเร็จรูป 429,969 คัน ลดลง 2.28 เปอร์เซ็นต์ โดยในเดือนพฤษภาคม 2567 ส่งออกได้ 89,284 คัน เพิ่มขึ้น 3.39 เปอร์เซ็นต์
สำหรับยอดจดทะเบียนยานยนต์ประเภทไฟฟ้า (BEV) รวมทุกประเภท มกราคม -พฤษภาคม 2567 มีทั้งสิ้น 43,921 คัน เพิ่มขึ้น 31.64 เปอร์เซ็นต์