นายธานินทร์ สมบูรณ์ อธิบดีกรมทางหลวง หรือ ทล. เปิดเผยว่า ทล.ได้รับงบประมาณปี 2560 จำนวน 91,279.93 ล้านบาท ในนี้เป็นงบประมาณก่อสร้างใหม่ 44 โครงการ 31,935 ล้านบาท งบผูกพันปี 2560-2562 เริ่มประมูลมาแล้วเมื่อเดือน ต.ค.-ธ.ค.ปี 2559 ที่ผ่านมามีทั้งหมด 2,967 สัญญา ประกอบด้วย ถนนเขตเศรษฐกิจพิเศษ 5 โครงการ ได้แก่ บ.หนองเอี่ยน-สตึงบท จ.สระแก้ว 4.714 กม. 860 ล้านบาท เสร็จ 2561, สาย 212 อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร-อ.ธาตุพนม จ.นครพนม 23.831 กม.1,050 ล้านบาท เสร็จปี 2562 สายแยกเข้า ต.ไม้รูด-บ.คลองจาก จ.ตราด 23.45 กม. 990 ล้านบาท, สาย 12 บ้านนาไคร้-อ.หนองสูง จ.มุกดาหาร 16.60 กม. 1,200 ล้านบาท เสร็จปี 2562 และสาย 12 อ.หนองสูง-อ.คำชะอี จ.มุกดาหาร 19.708 กม.1,200 ล้านบาท
นอกจากนี้ยังมีถนนเชื่อมโยงระหว่างประเทศ 7 โครงการ กำหนดเสร็จปี 2562 ได้แก่ สาย 12 บ.น้ำดุก-ต.ปากช่อง จ.เพชรบูรณ์ 20 กม. 1,250 ล้านบาท, สาย 12 อ.หล่มสัก-อ.น้ำหนาว ตอน ต.ปากช่อง-ต.น้ำหนาว จ.เพชรบูรณ์ 20 กม. 1,370 ล้านบาท, สาย 12 ตอน ต.น้ำหนาว-ต.ทุ่งพระ จ.เพชรบูรณ์ 12.5 กม. 1,350 ล้านบาท, สาย 12 ตอน ต.ทุ่งพระ จ.เพชรบูรณ์ – อ.คอนสาร จ.ชัยภูมิ 28.524 กม. 1,430 ล้านบาท, สาย 118 ต.ป่าเมี่ยง เชียงใหม่- บ.ปางน้ำถุ เชียงราย 10.25 กม. 650 ล้านบาท, สะพานข้ามแยกจุดตัดแยกอินโดจีน จ.พิษณุโลก 850 ล้านบาท และสายเขาสอยดาว-ด่านชายแดนบ้านแหล จ.จันทบุรี 21.1 กม. 700 ล้านบาท
โครงการขยาย 4 ช่องจราจร 7 โครงการ เสร็จปี 2562 ได้แก่ สาย 24 อ.ปราสาท-บ.กระเทียม จ.สุรินทร์ 26.44 กม. 1,100 ล้านบาท, สาย 24 ช่วง บ.กระเทียม -อ.สังขะ จ.สุรินทร์ 25.30 กม. 1,160 ล้านบาท, สาย 201 อ.แก้งคร้อ-อ.ภูเขียว จ.ชัยภูมิ 23.63 กม. 980 ล้านบาท, สาย 24 ตอน อ.ขุนหาญ-แยก สาย2085 จ.ศรีสะเกษ 31.79 กม. 1,400 ล้านบาท, สายชุมพร-ระนอง ตอน บ.ทรายแดง-บ.บางนอน จ.ระนอง 17.75 กม. 850 ล้านบาท, สาย 101 อ.ร้องกวาง จ.แพร่-จ.น่าน ตอน บ.ผาหมู-บ.ปางยาว 8.92 กม. 550 ล้านบาท และสาย 101 สุโขทัย-อ.สวรรคโลก ตอน บ.เตว็ดนอก- ต.เกาะตาเลี้ยง จ.สุโขทัย 6.22 กม. 630 ล้านบาท
ถนนเชื่อมต่อระบบขนส่ง 3 โครงการ ได้แก่ ถนนเข้าสนามบินอู่ตะเภา 3.30 กม.200 ล้านบาท เสร็จปีนี้, สายเชียงราย-อ.ขุนตาล ตอน บ.หัวดอย-บ.ใหม่มงคล จ.เชียงราย 14.17 กม. 1,400 ล้านบาท กำหนดเสร็จปี 2562 และถนนภายในสนามบินอู่ตะเภา 4.2 กม. 200 ล้านบาท กำหนดเสร็จปี 2562
โครงการแก้ปัญหาจราจรกรุงเทพฯและปริมณฑล หัวเมืองหลัก มี 2 โครงการเสร็จปี 2561 ได้แก่ สะพานเข้าอาคารผู้โดยสารสนามบินดอนเมือง 150 ล้านบาท และสะพานลอยกลับรถโรงพยาบาลเกษมราษฎร์ (สถานีรถไฟฟ้าบางใหญ่) 120 ล้านบาท
โครงข่ายทางหลวงสายใหม่ 9 โครงการ กำหนดเสร็จปี 2562 ได้แก่ สาย บ.หนองลุง-ศรีสะเกษ จ.ศรีสะเกษ 7.7 กม. 320 ล้านบาท, ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ตอนแยกถนนมิตรภาพ-บรรจบ สาย 2068 1,400 ล้านบาท, ถนนวงแหวนรอบเมืองนครราชสีมา ตอนแยกถนนมิตรภาพ-บรรจบสาย 2068 9.11 กม. 1,000 ล้านบาท, แยกจุดตัดปาลอปาต๊ะ รวมทางเข้าสนามบินนราธิวาส จ.นราธิวาส 13 กม. 440 ล้านบาท
สายแยก บ.ท่าพระ จ.ขอนแก่น-มหาสารคาม 18.26 กม. 650 ล้านบาท, สาย อ.ดอนตูม – ต.ลำลูกบัว จ.นครปฐม 9.07 กม. 300 ล้านบาท, สายน่าน -อ.ทุ่งช้าง ตอน บ.ฝายมูล-อ.ท่าวังผา และตอน อ.เชียงกลาง-อ.ทุ่งช้าง จ. น่าน 10.26 กม. 250 ล้านบาท, สายพยัคฆภูมิพิสัย-บ.เมืองเตา จ.มหาสารคาม 3.28 กม. 140 ล้านบาท และสาย อ.ตระการพืชผล-บ.ห้วยยางตอน บ.ดอนหมากมาย-บ.แสนสบาย จ.อุบลราชธานี 18.42 กม. 600 ล้านบาท
โครงการก่อสร้างสะพานและทางต่างระดับ มี 3 โครงการ กำหนดเสร็จปี 2562 ได้แก่ สะพานลอยกลับรถบนถนนสาย 35 จ.สมุทรสงคราม 200 ล้านบาท, ทางแยกต่างระดับจุดตัดถนนมิตรภาพกับถนนวงแหวนรอบเมืองอุดรธานี จ.อุดรธานี 1,350 ล้านบาท และสะพานลอยข้ามทางแยกจุดตัดทางเลี่ยงเมืองสุราษฎร์ธานี บริเวณแยกบางใหญ่ จ.สุราษฎร์ธานี 600 ล้านบาท
นอกจากนี้มีสะพานข้ามจุดตัดรถไฟ 6 โครงการ กำหนดเสร็จปี 2562 ได้แก่ ช่วง อ.นครชัยศรี- บรรจบวัดสามง่าม จ.นครปฐม 265 ล้านบาท, บริเวณศรีสะเกษ-ห้วยขะยุง 335 ล้านบาท, บริเวณท่าโรงช้าง-กิโลศูนย์ จ.สุราษฎร์ธานี 230 ล้านบาท, บริเวณท่าน้ำสมุทรสงคราม-บรรจบทางปากท่อ จ.ราชบุรี 360 ล้านบาท, แยกม่วงค่อม-ต่อเขตเทศบาล ต.วังม่วง จ.ลพบุรี 300 ล้านบาท และทางเลี่ยงเมืองปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 605 ล้านบาท
อย่างไรก็ตาม ทล.ยังมีงานบูรณะทางหลวงสายหลักระหว่างภาค 2 โครงการ ได้แก่ ช่วงนครสวรรค์- สลกบาตร 20 กม. 600 ล้านบาท และทางเลี่ยงเมืองนครสวรรค์ 12.60 กม. 550 ล้านบาท กำหนดเสร็จในปี 2562
“ทั้ง 44 โครงการ รวมระยะทางกว่า 484.208 กม. วงเงินกว่า 31,935 ล้านบาท จะเป็นโครงการในงบประมาณปีླྀ ของกรม จะมีการเบิกจ่ายเงินงวดแรก 15% หลังเซ็นสัญญากว่า 4,790.25 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีการเบิกจ่ายของมอเตอร์เวย์สายบางปะอิน-นครราชสีมา และบางใหญ่-กาญจนบุรีอีก 6,000 ล้านบาท ที่จะเป็นเม็ดเงินไหลเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจเช่นกัน” นายธานินทร์ กล่าว
ประวัติกรมทางหลวง
กรมทางหลวงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นกรมเมื่อวันที่ 1 เมษายน ปี 2455 แต่เดิมนั้นจะมีแต่กรมคลอง ซึ่งอยู่ในกระทรวงเกษตราธิการ ล่วงมาจนถึงรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้า เจ้าอยู่หัว ได้ทรงโปรดเกล่าฯ ให้ยุบกรมคลองมาขึ้นกับกระทรวงโยธาธิการและใช้ชื่อว่า “กรมทาง” ให้เปลี่ยนชื่อกระทรวงโยธาธิการเป็นกระทรวงคมนาคมตามประกาศจัดราชการรัตนโกสินทร์ศก 131
ต่อมาวันที่ 18 กันยายน ปี 2477 พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติโอนอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการสร้างทางและบำรุงรักษาทางหลวงพุทธศักราช 2477 ของกรมทางให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมโยธาเทศบาล สังกัดกระทรวงมหาดไทย ในวันที่ 12 มีนาคม ปี 2495
กรมทางหลวงได้เปลี่ยนชื่อเป็นกรมทางหลวงแผ่นดิน ตามพระราชบัญญัติปรับปรุงกระทรวง ทบวง กรม สังกัดกระทรวงคมนาคม ปัจจุบันกรมทางหลวงครบรอบการดำเนินงานมาแล้ว 105 ปี ในการพัฒนาเส้นทางคมนาคมในประเทศ