นายแพทย์ราเชษฐ์ เชิงพนม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอรัญประเทศ เปิดเผยถึงความคืบหน้าการสร้างอาคารผู้ป่วยแห่งใหม่ว่า ขณะนี้การดำเนินงานก่อสร้างคืบหน้าประมาณ 30 เปอร์เซ็นต์อยู่ในขั้นตอนของโครงสร้างอาคาร ซึ่งการก่อสร้างดำเนินงานเป็นไปตามแผนที่วางเอาไว้และน่าจะแล้วเสร็จตามกำหนดที่วางไปคือเดือนพ.ค. ปี 2562
สำหรับอาคารดังกล่าวเป็นอาคารสูง 10 ชั้น ใช้งบประมาณ 284 ล้านบาท โดยรายละเอียดแต่ละชั้นมีดังนี้
ชั้นที่ 1 เป็นชั้นกลางสำหรับที่จอดรถ
ชั้นที่ 2 เป็นห้อง OPD ห้องตรวจผู้ป่วยนอก ห้องจ่ายยา
ชั้นที่ 3 ห้องชันสูตร ห้องแลป ห้องเอกซเรย์ และห้องตรวจพิเศษ จำนวน 7 ห้อง
ชั้นที่ 4 ห้องผ่าตัด 6 ห้อง และห้องผู้ป่วยหนัก ICU อยู่ในชั้นนี้
ชั้นที่ 5 ห้องทันตกรรม 12 ห้อง ห้องสมุด ศูนย์คอมพิวเตอร์ รวมถึงงานประกันต่างๆ
ชั้นที่ 6,7,8 ในชั้นนี้ใช้เป็นวอร์ดผู้สามัญทั่วไปชั้นละประมาณ 90 เตียง รวม 3 ชั้นสามารรถรองรับผู้ป่วยได้ประมาณ 270 เตียง
ชั้นที่ 9 ห้องแยกโรค หรือ ห้องพิเศษเดี่ยว จำนวน 26 ห้อง
ชั้น 10 ในส่วนนี้เป็นออฟฟิศทั้งหมดของโรงยบาลบาลเช่น ห้องผอ.,ห้องรองผอ.,ห้องธุรการ,ห้องการเงิน คือเรื่องของงานเอกสารจะรวมอยู่ในชั้นนี้ทั้งหมด
นายแพทย์ราเชษฐ์ เปิดเผยเพิ่มเติมว่า หากก่อสร้างตึกใหม่แล้วเสร็จจะสามารถเคลื่อนย้ายเครื่องมือ อุปกรณ์ รวมถึงผู้ป่วยไปยังตึกใหม่ได้ประมาณ เดือนสิงหาคม ปี2562 ในส่วนของเครื่องมือแพทย์ทางโรงพยาบาลมีเพียงพอต่อการให้บริการ เนื่องจากได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐอยู่ในทุกๆปี
สำหรับบุคลากรแพทย์ผู้ให้บริการนั้น ขณะนี้โรงพยาบาลมีแพทย์เฉาพทางทั้งหมด 4 ด้าน คือ 1.สูตินรีแพทย์ 2.ศัลยกรรมกระดูก 3.อายุรกรรม 4.จักษุแพทย์ ซึ่งยังขาดแคลนแพทย์ในด้านศัลยกรรม,กุมารแพทย์,วิสัญญีแพทย์ เป็นต้น อย่างไรก็ตามทางโรงพยาบาลมีการส่งไปเรียนในด้านที่ขาดแคลนเป็นที่เรียบร้อยซึ่งคาดว่าจะทยอยจบ และสามารถกลับมาปฏิบัติงานให้บริการกับประชาชนต่อไปในอนาคต
“ผู้ป่วยที่เข้ามาฝช้บริการกับโรงพยาบาลส่วนใหญ่เป็นคนในพื้นที่อรัญประเทศ แต่เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลขนาดทั่วไป คือ ถูกยกจากโรงพยาบาลชุมชน เป็นโรงพยาบาลทั่วไปเทียบเท่ากับโรงพยาบาลสระแก้ว แต่ขนาดเล็กกว่า จึงมีผู้ป่วยบริเวณพื้นที่ใกล้เคียงเข้ามาใช้บริการ เช่น โคกสูง/ตาพระยา/คลองหาด/วัฒนานคร เป็นต้น ซึ่งผู้ป่วยไม่ต้องเดินทางไปถึงสระแก้วสามารถเข้ารับการบริการกับทางโรงพยาบาลอรัญประเทศได้เช่นกัน”
อย่างไรก็ตาม มีแผนพัฒนาในอนาคต โดยตั้งโครงการ โรงพยาบาลอรัญ 4.0 ขึ้น คือ 1.0 คือ สถานพยาบาลในอดีตหรือสุขศาลา 2.0 โรงพยาบาลชุมชนขนาดเล็ก 3.0 โรงพยาบาลชุมชนขนาดใหญ่ คือถูกยกฐานะให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดเล็ก และ 4.0 คือ มองเป็น 4 มิติ คือ
ด้านคุณภาพ การให้บริการทุกด้านต้องมีมาตรฐานและอยากให้เป็นไปตามมาตรฐาน JCI ซึ่งเป็นองค์กรอิสระจากอเมริกาที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล
ด้านการบริการ การบริการต้องเป็นการบริการขั้นสูง หรือ premium-service เนื่องจากโรงพยาบาลอรัญประเทศตั้งอยู่ห่างจากชายแดนกัมพูชาประมาณ 5 กิโลเมตร มีเพื่อนบ้านเข้ามาใช้บริการอย่างต่อเนื่อง จึงมองว่าอยากจะทำให้มีการบริการที่แตกต่างจากโรงพยาบาลทั่วไป หรือ เป็นการบริการเฉพาะด้าน เช่น สลายนิ่ว เป็นต้น
ด้านสิ่งแวดล้อม ต้องมีการจัดการบริหารทรัพยากรสิ่งแวดลล้อมภายในโรงพยาบาล ให้ดูสะอาด เรียบร้อย เทียบเท่ากับโรงพยาบาลเอกชน สามารถลบภาพที่ไม่ดีของโรงพยาบาลรัฐออกไป
และสุดท้ายคือการพัฒนาให้เป็นโรงพยาบาลทั่วไปขนาดใหญ่ เนื่องจากในอนาคตมีการขยับขยายของอุตสาหกรรมบริเวณใกล้เคียง การค้าชายแดนเตบโตขึ้น มองว่าในส่วนนี้ทางโรงพยาบน่าจะมีการขยับขยายเพื่อรองรับการใช้บริการของประชาชนในอนาคตต่อไป