กรมทรัพยากรน้ำ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (ทส.) วางแผนโครงสร้างแหล่งน้ำอย่างเป็นระบบ แก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำ ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน
นายภาดล ถาวรกฤชรัตน์ อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ลงพื้นที่สำรวจแหล่งน้ำบริเวรบึงถนนหักใหญ่ในพื้นที่ บ้านโนนสง่า ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา ปัจจุบันแหล่งน้ำมีสภาพตื้นเขินไม่สามารถกักเก็บน้ำในปริมาณมากพอในฤดูฝนเพื่อใช้ในฤดูแล้ง กรมทรัพยากรน้ำจึงได้วางโครงสร้างแหล่งน้ำร่วมกันอย่างเป็นระบบ เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อนของประชาชน ในพื้นที่จำนวน 4 ตำบล ของ อ.ด่านขุนทด ประกอบด้วย ต.กุดพิมาน ต.หนองบัวตะเกียด ต.หนองบัวละคร และ ต.ด่านขุนทด จำนวน 54 หมู่บ้าน 4910 ครัวเรือนที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำให้กลับมามีความมั่นคงด้านน้ำรวมถึงการส่งเสริมอาชีพของประชาชนในพื้นที่เพื่อสร้างความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นให้กับประชาชน
นอกจากนี้ ทส.จับมือกับกรมที่ดิน ร่วมกันขับเคลื่อนข้อมูลแผนที่และข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยา เพื่อบริหารจัดการแหล่งน้ำต้นทุนให้มั่งคงและเพียงพอกับความต้องการของประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำ ช่วยเหลือเกษตรกรนอกพื้นที่เขตชลประทานให้มีน้ำใช้เพียงพอต่อการประกอบอาชีพ
อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ เปิดเผยว่า การบันทึกความร่วมมือกับกรมที่ดินในครั้งนี้ เป็นการพัฒนาแหล่งน้ำต้นทุน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรนอกเขตพื้นที่ชลประทาน หรือเกษตรน้ำฝนให้มีความมั่นคงและเพียงพอต่อการประกอบอาชีพ โดยการใช้ข้อมูลแผนที่และข้อมูลอุตุ-อุทกวิทยาของสองหน่วยงานในการปฏิบัติงาน และแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อใช้ประโยชน์ร่วมกัน
กรมทรัพยากรน้ำจะสนับสนุนและให้บริการข้อมูลสารสนเทศ ในพื้นที่ดำเนินการและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง คือ ข้อมูลการตรวจวัดสภาพน้ำทางไกลอัตโนมัติ,ข้อมูลคาดการณ์ค่าความชื้นในดินจากระบบ,ข้อมูลสถานการณ์พื้นที่เสี่ยงอุทกภัยน้ำหลากในเขตพื้นที่ลาดเชิงเขาจากระบบ Early Warning System,ข้อมูลอุตุนิยมวิทยาและข้อมูลอุทกวิทยา และข้อมูลปริมาณน้ำใช้การได้ในพื้นที่นอกเขตชลประทานส่วนกรมพัฒนาที่ดิน จะสนับสนุนและให้บริการแผนที่ ข้อมูลทางแผนที่ในพื้นที่ดำเนินการและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง คือ ภาพถ่ายออร์โธสีเชิงเลข มาตราส่วน 1 : 4,000 และ 1 : 25,000 ,แผนที่เส้นชั้นความสูงเชิงเลข มาตราส่วน 1 : 4,000 , แบบจำลองระดับสูงเชิงเลข มาตราส่วน 1 : 4,000 , ข้อมูลหมุดหลักฐานภาคพื้นดิน และข้อมูลแผนที่ดินและสภาพการใช้ที่ดิน ซึ่งเป็นไปตามแผนงานที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมกำชับให้ดูแลและช่วยเหลือประชาชนที่ประสบปัญหาขาดแคลนน้ำทั่วประเทศอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ นายวราวุธ ศิลปอาชา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เคยมอบนโยบายในการดำเนินงานสำหรับปีงบประมาณปี 2563และ2564 ไว้ ดังนี้ หัวใจสำคัญที่สุด 2 ประการ ในการดำเนินงาน คือ การแก้ปัญหาภัยแล้ง และการเตรียมการรับมือวิกฤติน้ำท่วม แผนการดำเนินงานต้องชัดเจน รายละเอียดต้องพร้อม ข้อมูลจะต้องทันสถานการณ์ หลังได้รับงบประมาณ จะต้องดำเนินงานได้ทันที
การปรับโครงสร้าง บทบาท หน้าที่ ภารกิจของกรมทรัพยากรน้ำจะต้องชัดเจน มีศักยภาพอย่างไร กำลังคน เป็นสิ่งสำคัญ ต้องรักษากำลังคนเอาไว้ให้ได้ กฎ ระเบียบ ข้อบังคับต่างๆ ที่จะต้องแก้ไขเปลี่ยนแปลง ให้เร่งร่างทำกฎหมายขึ้นใหม่ให้สอดคล้องกับ พ.ร.บ.ทรัพยากรน้ำใหม่
สำหรับงบประมาณปี 2563และ 2564 งบที่สำคัญที่สุดคืองบที่เกี่ยวข้องกับโครงการหลวง โครงการในพระราชดำริต่างๆ จะต้องได้รับการดูแลอย่างเต็มที่ ขอให้ดำเนินการให้แล้วเสร็จ เพราะโครงการหลวงทุกโครงการล้วนแล้วแต่ทำเพื่อแผ่นดินไทย เพื่อพี่น้องประชาชนคนไทย
ด้านนายจตุพร บุรุษพัฒน์ ปลัดกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ยังได้เสริมนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีดังนี้ 1. งบประมาณ ปี 2563 ขอให้ดูพื้นที่ให้ชัดเจน เอาแผนที่มาดู ขอให้จัดทำแผนที่สำหรับโอกาสที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมการดำเนินงาน 2. งบประมาณ ปี 2564 ภาพรวม ต้องจัดลำดับความสำคัญให้ได้ เช่น การแก้ปัญหาภัยแล้ง เพิ่มระบบนิเวศน์ งานเตรียมรับมือสภาพการเปลี่ยนแปลง (แล้ง/ท่วม) งานเตรียมเครื่องจักรกลในการสนับสนุน มีความจำเป็นทุกๆ เรื่อง 3. เรื่องการกระจายอำนาจ ขอให้เป็นไปตามนโยบายของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะต้องมีความเชื่อมโยงระหว่าง สำนักงานทรัพยากรน้ำภาค กับ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด การดำเนินงานใดๆ ต้องแจ้งผู้ว่าราชการจังหวัดทราบทุกครั้ง ความเชื่อมโยงระหว่างส่วนกลางกับส่วนภูมิภาค ต้องมี ทสจ. รับรู้ด้วย การทำงานต้องเป็นเรื่องของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ทุกคนต้องมาทำงานร่วมกัน ไม่มีแบ่งแยก ความเชื่อมโยงกับกรมทรัพยากรน้ำบาดาล ต้องไปด้วยกัน 4. การยกระดับการทำงาน เรื่องโครงสร้างที่ชัดเจน 5. ปัญหา ฝุ่นพิษ PM 2.5 ให้กรมทรัพยากรน้ำ ปรึกษากับจังหวัด จะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาอย่างไร 6. ระบบกระจายน้ำ ต้องทำ แจก เจาะ จ่าย หัวใจคือ พี่น้องประชาชนต้องมีความสุข 7. โครงการหลวง โครงการพื้นที่สูง (ปกท.ทส. เป็นประธาน) โครงการทั้งหมดจะต้องได้รับการดูแลอย่างเต็มที่