ธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KTB รัฐวิสาหกิจดำเนินงานเกี่ยวกับสถาบันการเงิน ประเภทธนาคารพาณิชย์ มีกระทรวงการคลังเป็นหน่วยงานรัฐที่กำกับดูแล มีตราสัญลักษณ์เป็นภาพนกวายุภักษ์ ปัจจุบันกระทรวงการคลังผู้ถือหุ้นใหญ่โดยถือผ่านกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน
ในปีนี้ KTB ได้รับรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นประจำปี 2560 ด้านเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใส่ดีเด่น โดยมีนางสาวอาริศรา ธรมธัช รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทยเป็นผู้แทนเข้ารับรางวัลจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี โดยมีผู้บริหารธนาคารกรุงไทยแสดงความยินดีและร่วมกิจกรรมรวมพลังรัฐวิสาหกิจไทยสู่ความฝันอันสูงสุดในงานนี้
การมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่นในปีจัดขึ้นเป็นปีที่ 13 ภายใต้แนวคิดศาสตร์พระราชา พัฒนาประชารัฐวิสาหกิจไทย มีรัฐวิสาหกิจดีเด่นได้รับรางวัลจำนวน 19 ราย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อประกาศให้สาธารณชนได้รับทราบถึงผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจที่ดีเด่นในด้านต่างๆซึ่งจะเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ และช่วยส่งเสริมให้รัฐวิสาหกิจมีความมุ่งมั่นในการดำเนินงานเพื่อพัฒนาองค์กรให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
ภายหลังการมอบรางวัลรัฐวิสาหกิจดีเด่น นายกรัฐมนตรีกล่าวมอบนโยบายตอนหนึ่งว่า รัฐวิสาหกิจเป็นพลังสำคัญในการขับเคลื่อนการพัฒนาประเทศไทยตลอดมาอย่างเข้มแข็ง ซึ่งมีส่วนสำคัญที่ทำให้ประชาชนมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและประเทศชาติมีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนตามหลักของศาสตร์พระราชาขอให้นำไปใช้อย่างเหมาะสม รวมถึงตอบสนองต่อการดำเนินนโยบายของรัฐบาลอย่างมีประสิทธิภาพ สำหรับหน่วยงานที่ได้รับรางวัลในวันนี้แสดงให้เห็นความมุ่งมั่นต่อการพัฒนาดำเนินงานให้เกิดประสิทธิภาพ อันจะส่งผลต่อขวัญกำลังใจแก่ผู้บริหาร พนักงานที่มีส่วนรวมในการยกระดับมาตรฐานการบริหารจัดการองค์กรให้เป็นที่ยอมรับ
นายผยง ศรีวณิช กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย กล่าวว่า KTB ตั้งเป้าหมายขึ้นผลักดันกำไรขึ้นสู่อันดับ 3 ของกลุ่มธนาคารภายในปี 61 จากปัจจุบันอยู่ในอันดับ 4 โดยในปี 60 มีกำไรดีกว่าปีก่อนตามแนวโน้มสินเชื่อที่จะขยายตัวให้มากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์สูงกว่าภาพรวมสินเชื่อกลุ่มธนาคารที่คาดว่าจะเติบโตราว 4-5 เปอร์เซ็นต์ เน้นกลุ่มสินเชื่อโครงการของภาครัฐพร้อมควบคุมหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ให้อยู่ในระดับใกล้เคียงกับปีก่อน
กรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกรุงไทย เปิดเผยเพิ่มเติมว่า จากแนวโน้มสินเชื่อของธนาคารที่จะกลับมาเป็นบวกในปีนี้จะส่งผลให้กำไรของธนาคารจะดีกว่าปี 59 แม้ว่าการเน้นปล่อยสินเชื่อภาครัฐมากขึ้นอาจทำให้ส่วนต่างอัตราดอกเบี้ยลดลง แต่ในด้านรายได้ค่าธรรมเนียมยังตั้งเป้าเติบโตมากกว่า 5 เปอร์เซ็นต์ โดยจะเน้นการเพิ่มบริการด้านต่างๆให้กับลูกค้าซึ่งผลอีกส่วนหนึ่งจะช่วยทดแทนผลกระทบที่เกิดจากการเปิดให้บริการพร้อมเพย์ที่มีต่อภาพรวมอุตสาหกรรมธนาคารของไทยที่จะสูญเสียรายได้ค่าธรรมเนียมไปราว 3-4 หมื่นล้านบาท
นอกจานี้ได้ตั้งงบลงทุนด้าน IT ไว้ประมาณ 5 พันล้านบาท เนื่องจากในช่วงที่ผ่านมาไม่ได้มีการลงทุนเทคโนโลยีอย่างจริงจังมากนัก และในปีที่ผ่านมาภาครัฐได้มีการสนับสนุนการขับเคลื่อนโครงการ National e-Payment ทำให้ธนาคารต้องมีการดำเนินงานที่สอดคล้องไปกับนโยบายภาครัฐ ซึ่งการลงทุนด้านเทคโนโลยีจะช่วยให้ธนาคารสามารถลดต้นทุนต่างๆ ลงได้ในนะยะยาว และในปี 60 ธนาคารจะมีการปิดสาขาราว 100 สาขา จากปัจจุบันมีสาขาทั้ง 1,200 สาขา
อย่างไรก็ตามหากเทียบกับบางธนาคารอาจะดูเหมือนกว่าธนาคารลงทุนระบบไอทีน้อยกว่า และช้ากว่า แต่การลงทุนที่ช้ากว่าก็ไม่ได้หมายความว่าจะต้องเสียเปรียบธนาคารอื่นเสมอไป ขึ้นอยู่กับว่าสามารถที่จะนำระบบเทคโนโลยี่ไปต่อยอดเพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ได้หรือไม่ดังนั้นในปีนี้จะต้องเน้นเพื่อต่อยอดจาการลงทุนไอทีในการออกผลิตภัณฑ์ต่างๆเพื่อตอบโจกย์ลูกค้าและต้องให้เข้าถึงลูกค้าได้ทุกกลุ่ม
ดังนั้นภารกิจของงธนาคารในความเป็นไฮบริดแบงก์คือการเป็นพันธมิตรของรัฐบาลในการขับเคลื่อนตลาดเงิน ซึ่งเป็นความได้เปรียบอย่างที่ธนาคารอื่นซึ่งแผนงานของธนาคารในปีนี้คือ การนำระบบการชำระเงิน หรือ อี-เพย์เมนต์ ที่ภาครัฐพยายามจะทำโครงการชำระเงินอิเล็กทรอนิกส์แห่งชาติโดยที่ธนาคารกรุงไทยในฐานะเป็นไฮบริดแบงก์ก็จะเป็นตัวหลักร่วมกับธนาคารพาณิชย์อื่น
อีกแผนงานคือการสร้างความเติบโตด้านสินเชื่อ ซึ่งจะจะเติบโตมาจากโครงการต่างๆของภาครัฐ การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐ รวมถึงการรุกใน18กลุ่มจังหวัดที่งบภาครัฐจะนำลงไปเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจและเน้นการค้าชายแดน ซึ่งจะเป็นอีกยุทธศาสตร์หลักของธนาคารเพื่อทำหน้าที่เชื่อมการค้าสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ซีแอลเอ็มวี เพื่อให้ภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจเข้าถึงแหล่งเงินทุนได้สะดวกยิ่งขึ้น